Problems and Challenges of Cities
ปัญหาและความท้าทายของเมือง
– พื้นที่โล่งว่าง
– อาชญากรรมข้ามชาติ
– ประเด็นเรื่องสุขภาพ
– น้ำสะอาดและอาหาร
– ความเป็นประชาธิปไตย
– การคมนาคม
– การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ
– ความเสมอภาคทางเพศ
– สันติภาพและความขัดแย้ง
– ประชากรและทรัพยากร
– วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– จริยธรรมสากล
– การคาดการณ์อนาคตและการตัดสินใจสากล
และปัจจุบันสภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ระดับโลกได้ส่งผลต่อปัญหานานับประการ

Cities and Covid-19
โรคภัยไข้เจ็บนำไปสู่การออกแบบเมืองอย่างไร
ในอดีตระบบสุขาภิบาล การจัดการเมือง และการพัฒนาเมือง เกิดขึ้นหลังจากเมืองประสบปัญหาสุขภาวะ เช่น กรณีปัญหากรุงลอนดอนในกลางศตวรรษที่ 19 หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ส่งผลให้เกิดความแออัดภายในเมืองและปัญหาการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรค จนต้องมีการวางรากฐานในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางสุขาภิบาล รวมถึงการระบาดของไข้หวัดสเปน ไวรัสอีโบล่า จนมาถึงโควิต-19 นี้ ล้วนส่งผลต่อการออกแบบและจัดการเมืองทั้งสิ้น

Issues to Manage and Control COVID-19
ปัญหาการจัดการและควบคุมโรคระบาด
จริงอยู่ว่าโรคระบาดที่เป็นอยู่ทั่วโลกเป็นผลมาจากโลกาภิวัฒน์ (globalization) และเมืองใหญ่ ในขณะเดียวกันก็พบว่าจุดที่แพร่ระบาดแห่งแรก ๆ กลับเป็นย่านชานเมืองทั้งกรณีในรัฐวอชิงตันและอิตาลี
ในหลายแห่งพบว่าปัญหาเชิงระบบและกายภาพเมืองที่ต้องเผชิญกับการระบาดของโรค ประกอบด้วย (1) สาธารณูปการด้านสาธารณสุขที่ไม่เพียงพอ (2) ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่มากเกินไป (3) การจราจรติดขัด (4) ขาดความตระหนักรู้ของประชาชนเรื่องการแพร่ระบาด (5) การให้บริการสาธารณะอยู่ในระดับต่ำ และ (6) มีพื้นที่เปิดโล่งไม่เพียงพอ
ยุทธศาสตร์การป้องกันการระบาดเชิงพื้นที่ “การปรับปรุงโครงสร้างระบบบริการสาธารณะเมือง” เพื่อสนับสนุนระบบสาธารณะสุขระหว่างการระบาด บริการสาธารณะเมืองขนาดใหญ่ควรมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยรักษาหรือคัดกรองผู้ป่วย รวมถึงการปรับหอพักและโรงแรมไว้เป็นที่รองรับผู้ป่วย ภายใต้หลักการ (1) สร้างโรงพยาบาลสนาม (2) ใช้พื้นที่สาธารณะและสาธารณูปการ (3) ดูและเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัย (4) ปรับปรุงความสามารถให้กู้ภัยเมือง (5) สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบจัดเก็บและขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ และ (6) เพิ่มความเข้มข้นในการสังเกตการณ์และป้องกันของสถานบริการชุมชน
และต้องมีระบบความปลอดภัยภายในเมือง อันประกอบไปด้วย (1) การจัดการอย่างเป็นระบบ (Systematic – Smart Governance) (2) ความน่าเชื่อถือ (Relislibility – Resilient City) และ (3) ความทนทาน (Durability – Sustainable City)

Post COVID-19
โลกหลังยุค COVID-19
เราจะออกแบบเมืองในอนาคตเพื่อสู้กับการระบาดใหญ่ได้อย่างไร
-
- ระบบขนส่งสาธารณะปลอดไวรัส
- อาคารที่พร้อมจัดการกับโรคติดต่อ
- โรงพยาบาลที่พร้อมรับมือกับโรคระบาด
- สวนสาธารณะที่เป็นปอดของเมือง
- ที่ล้างมืออยู่ทุกหนแห่ง
ไม่แน่ว่าในยุคนี้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดีอาจมีค่าเท่ากับระบบสุขาภิบาลที่ดี
สถาปัตยกรรมจะช่วยป้องกันเราจากการระบาดครั้งต่อไปอย่างไร
เราอาจเห็นจากข่าวที่ประเทศจีนสามารถสร้างโรงพยาบาลสองแห่ง ขนาด 1,000 เตียง และ 1,600 เตียง ภายในเวลา 10 วัน ด้วยนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปนิกชาวจีนออกแบบชุดที่สามารถป้องกันผู้ใส่จากการติดเชื้อได้ รวมถึงการที่นักออกแบบทั่วโลกตระหนักถึงจุดอ่อนของสิ่งของในชีวิตประจำวันอย่างมือจับประตู ที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ทำให้เกิดแนวคิดการออกแบบประตูอัตโนมัติให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น รวมไปถึงการออกแบบตู้และชั้นเก็บของด้วย (หรืออย่างน้อยก็เปิดใช้งานได้โดยไม่ใช้มือ)
ในด้านของการออกแบบและวางผังเมือง หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือขนาดของศูนย์กลางชุมชน ชุมชนที่มีร้านขายของชำ ตลาด และบริการสาธารณะจำเป็นครบถ้วนจะช่วยลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นในภาวะฉุกเฉินได้
นอกจากนี้การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง เช่น การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ การปรับวิธีการคิดเกี่ยวกับรูปแบบการทำงาน การจำกัดวิธีการที่ไม่ยั่งยืนทั้งหลาย การให้โอกาสคนรุ่นใหม่ในการตัดสินใจ การคิดวิธีดำเนินธุรกิจแบบนอกกรอบ การยกเลิกวิธีบริหารแบบบนลงล่างและเคารพการคิดจากล่างขึ้นบนว่าเป็นวิธีที่มีเหตุผลและปฏิบัติได้จริง การให้ความสำคัญกับระบบนิเวศเมืองมากกว่าเศรษฐกิจเมือง การให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้นำ และอื่น ๆ อีกหลายบทเรียน
อ้างอิง :
Webinar “Urban Health through Good Governances and Good Urban Design – Post COVID-19 “ Ar.Mustapha Kamal, Principle and Founder, Arkitek Mustapha Kamal, PAM Co Chairs Sustainable, Climate Change, 2 เมษายน 2020