Making healthy spaces happen!

แนะนำ 5 ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในการมาช่วยกันสร้างพื้นที่สุขภาพดีให้เกิดขึ้นในชุมชน

Making healthy spaces happen!

“เรื่องเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” เวลาพูดแบบนี้หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่ วันนี้พวกเราเลยขอพาทุกคนมาดูกันว่ามีตัวละครอะไรบ้างที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่และเกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่สุขภาพดี

เพราะกว่าลานใกล้บ้านจะเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ กว่าศาลเจ้าจะเข้ามาเตะบอลได้ กว่าพื้นที่ในสถานีขนส่งจะกลายเป็นพื้นที่เพิ่มกิจกรรมทางกาย กว่าจะแปลงโฉมพื้นที่ไม่ได้ใช้งานให้กลายเป็นห้องสมุดในสวนได้นั้น ล้วนอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมมือกัน (*จับมือแน่น*) 

โดยการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายนี้ ได้บริหารและจัดการร่วมกัน ผ่านกระบวนการจัดประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้ามาร่วมวางแผน และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนและกลไก การดูแลรักษา การบริหารจัดการพื้นที่ การเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการกำหนดบทบาทหน้าผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการ รวมถึงการจัดเวทีเสวนาเพื่อกระตุ้นให้คนในเมืองเข้าใจและตระหนักถึงแนวคิดสุขภาวะมากขึ้น

ตัวละครที่เราจะพูดถึงในวันนี้มี 5 ดาราเด่นด้วยกันคือ
✦ ภาครัฐส่วนกลาง รับบทเป็น ผู้สนับสนุนหลัก (Advocacy)
✦ ภาครัฐท้องถิ่น รับบทเป็นผู้จัดหาพื้นที่ (Provision) และจัดการการเงิน (Financial Management)
✦ ภาคเอกชน รับบทเป็นผู้ขับเคลื่อน (Activate)
✦ ภาคประชาชน รับบทเป็นผู้อนุรักษ์ (Protection)
✦ ภาคีและปราชาสังคม รับบทเป็นผู้วิจัยและวางแผน (Research and Planning)

รับบทบาทเป็นผู้สนับสนุนหลัก (Advocacy) ในการช่วยเผยแพร่แนวคิดและองค์ความรู้ รวมถึงใ้ห้งบประมาณสนับสนุนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนแต่ละโครงการในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เกิดขึ้นจริง

ตัวอย่างหน่วยภาครัฐส่วนกลาง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ กรมพลศึกษา การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) องค์กรหรือหน่วยงานเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาวะ

รับบทเป็นผู้จัดหาพื้นที่ (Provision) ด้วยการพัฒนา บำรุงรักษา และอำนวยความสะดวกในการใช้งานพื้นที่สาธารณะให้กับผู้คนในเมือง นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการจัดการเงินทุนให้โครงการและชุมชน (Financial Management) อีกด้วย ตัวอย่างหน่วยภาครัฐท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

รับบทเป็นผู้ขับเคลื่อน (Activate) ที่ทำให้ชุมชนรู้สึกแอคทีฟและสบายใจในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและเข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะ ด้วยการจัดกิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ  และภาคเอกชนยังเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินและอุปกรณ์ เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสมบูรณ์ขึ้น ตัวอย่างภาคเอกชน เช่น หอการค้าจังหวัด ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ผู้ค้าในท้องถิ่น บริษัทพัฒนาเมือง หน่วยงานภาคเอกชนที่สนใจการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

รับบทเป็นผู้วิจัยและวางแผน (Research and Planning) ดำเนินการวิจัยและติดตามผล เพื่อแบ่งปันข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตัวอย่างกลุ่มภาคีและภาคประชาสังคม ได้แก่ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ นักวิจัย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง ภาคีเครือข่ายของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

รับบทเป็นผู้อนุรักษ์ (Protection) ได้แก่ ประชาอย่างเราๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ผู้นำชุมชน สมาคม ชมรม ซึ่งภาคประชาชนนี้จะเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ การใช้งานพื้นที่ และเป็นผู้มาใช้งานพื้นที่สาธารณะมากที่สุด จึงมีบทบาทในการอนุรักษ์ (protection) คุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญในพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนได้ซึมซับคุณค่าและเรียนรู้ในพื้นที่เหล่านั้น รวมถึงมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่กับกลุ่มผู้ขับเคลื่อนอีกด้วย

Back

This is a unique website which will require a more modern browser to work!

Please upgrade today!

Share