“พื้นที่ใต้ทางด่วน” หรือพื้นที่ในเขตทางพิเศษ เป็นพื้นที่โล่งบริเวณใต้ทางยกระดับและพื้นที่ต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายต่าง ๆ พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่ง มีสิ่งปกคลุมเป็นทางยกระดับซึ่งสร้างร่มเงาเกือบทั่วบริเวณ จากองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านทำให้ตัวพื้นที่มีความน่าสนใจและสามารถทำให้พื้นที่นี้เกิดประโยชน์ต่อเมืองได้
หากมองกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เรามักจะเห็นการใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์มากมายในพื้นที่เหล่านี้ บางจุดถูกปล่อยรกร้าง บางพื้นที่มีความพยายามในการพัฒนาและจัดทำโครงการขึ้น แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็กลับไม่ได้รับการดูแลที่เพียงพอ พื้นที่เหล่านี้จึงกลายเป็นส่วนเกินของเมือง และเกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ของเมืองตามมามากมาย

“สนามบาส” เป็นพื้นที่นันทนาการที่พบเห็นได้ทั่วไป มีการใช้งานจากกลุ่มคนที่หลากหลาย
หากนำพื้นที่ในเขตทางพิเศษนี้มาใช้ในการสร้างสนามบาสตามขนาดมาตรฐานของสหพันธ์บาสกตบอลนานาชาติ เราจะสามารถสร้างสนามบาสได้ถึง 6,000 แห่ง ซึ่งมากเพียงพอที่จะทำให้เราสามารถปั้นเยาวชนเข้าร่วมแข่งขันบาสเก็ตบอล NBA ในอเมริกาได้

“สระว่ายน้ำ”
อีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งเหมาะกับการคลายร้อนจากสภาพอากาศของบ้านเรา คงหนีไม่พ้น “สระว่ายน้ำ” นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประโยชน์กับบริบทเมืองร้อนแบบเรา
หากเราสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานขนาด 50×25 เมตร เราจะมีสระว่ายน้ำทั้งหมดประมาณ 2,000 สระ ซึ่งนอกจากคลายร้อนให้แก่คนกรุงเทพฯ แล้ว การจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทางน้ำจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

“ตลาดนัดสวนจตุจักร”
นอกจากจะเป็นพื้นที่นันทนาก

“กระแสพื้นที่สีเขียวในเมืองกำลังมา”
หากพูดสวนสาธารณะขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึง “สวนลุมพินี” ซึ่งเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญสำหรับคนเมือง แต่หากเรามีสวนลุมพินีซัก 4 แห่งครึ่งในกรุงเทพฯ คงสามารถตอบโจทย์ความต้องการและการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะในเมืองได้อย่างลงตัว จากที่เรามีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรเพียง 6 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับเมืองหลวงของประเทศ

ในปัจจุบันเริ่มมีการปรับปรุงการใช้งานพื้นที่ใต้ทางด่วนอย่างคุ้มค่า ด้วยความพยายามจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เล็งเห็นถึงศักยภาพและมองว่าพื้นที่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมือง โดยเริ่มจากการสร้างกิจกรรมและการใช้งานให้แก่พื้นที่
นอกจากจะส่งเสริมให้ย่านมีความหลากหลายมากขึ้น ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ เหล่านั้นมีการคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชากรในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
เรื่อง : ทัตพล วงศ์สามัคคี
ภาพ : อธิพัฒน์ พูนสินบูรณะกุล