Stand-Up Meeting
This article is also available in English

พฤติกรรมเนือยนิ่ง
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนไทยประมาณ 1 ใน 3 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ยทุกช่วงวัย 13.54 ชม./วัน
พฤติกรรมเนือยนิ่ง หมายถึง การนั่งหรือนอนในกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้พลังงาน 1.5 MET ไม่รวมการนอนหลับ โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของกลุ่มโรค NCDs คือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ขาดการดูแลสุขภาพตัวเอง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเคลื่อนไหวที่น้อยมากในแต่ละวันนั่นเอง
พฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญน้อยลง, สูญเสียกล้ามเนื้อที่แข็งแรง, การหมุนเวียนโลหิจแย่ลง, ระบบเผาผลาญแย่ลง, ภูมิคุ้มกันต่ำ, กระดูกเปราะ, ร่างกายอักเสบง่าย และยาวนานขึ้น, และฮอร์โมนไม่สมดุล
จึงเป็นที่มาของ ‘โต๊ะประชุมยืน’ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มคนทำงาน


แนวทางการออกแบบโต๊ะประชุมยืน
รูปแบบโต๊ะประชุมยืน ขนาดมาตรฐานสำหรับนั่ง หรือยืนได้ฝั่งละ 1-6 คน สามารถใช้เป็นโต๊ะประจำ หรืออเนกประสงค์ได้
โต๊ะประชุมยืน สามารถปรับระดับความสูงได้โดยการหมุนมือจับ โดยปรับระดับขึ้น-ลง นอกจากตัวโต๊ะที่ปรับระดับได้แล้ว สามารถใช้โต๊ะที่เป็นแบบยืนถาวรที่ปรับระดับไม่ได้ เป็นโต๊ะขายาวสำหรับการยืนประจำ ยืนฟังบรรยาย หรือใช้เป็นโต๊ะส่วนกลางของสำนักงาน

ประเภทการใช้งาน
- โต๊ะสำหรับยืนทำงานแบบจริงจัง
ทำงานแบบใช้เวลานาน หรือใช้แล็ปท็อปในการยืนทำงาน โต๊ะจะต้องปรับระดับข้อศอกตั้งฉากกับโต๊ะ - โต๊ะสำหรับยืนทำงานแบบเบา
ยืนทำงาน ยืนฟังบรรยาย หรือยืนประชุมสั้น ๆ โดยปรับระดับโต๊ะให้ต่ำลงในระดับที่ใช้เพียงเพื่อการพักแขน หรือพักมือ - โต๊ะสำหรับนั่งเก้าอี้สูง
ปรับระดับโต๊ะตามความสูงของเก้าอี้สูง โดยปรับระดับโต๊ะให้ต่ำลงในระดับที่ใช้เพียงเพื่อการพักแขนหรือพักมือ - โต๊ะสำหรับนั่งทำงาน หรือนั่งประชุมโดยทั่วไป
นั่งทำงานแบบใช้เวลานาน หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน โต๊ะจะต้องปรับระดับให้ข้อศอกตั้งฉากกับโต๊ะ

นอกจากใช้ระหว่างช่วงทำงาน ยังสามารถเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันได้อีกด้วย
แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
เพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันสำหรับระหว่างการทำงานตลอดทั้งวัน
โต๊ะประชุมยืนนอกจากมีการใช้งานในระหว่างช่วงเวลาทำงานแล้ว ยังสามารถเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันได้อีก เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง แลพเพิ่มการลุกเดินระหว่างวัน โดยมีทางยืดเหยียดสำหรับคนที่นั่งทำงานตลอดทั้งวัน
ยืดเหยียดหากยืนทำงานเกิน 30 นาที
นอกจากนี้ยังมีการยืดเหยียดเท้าระหว่างที่ใช้โต๊ะประชุมยืนหรือทำงาน หากยืนทำงานเกิน 30 นาที หลังจากใช้งานโต๊ะยืน จะมีท่ายืดเหยียดเท้าเพื่อบรรเทาอาการเมื่อยล้าจากการยืนโดยแต่ละท่า ทำข้างละ 5-10 วินาที
ยืดเหยียดหากยืนทำงานเกิน 60 นาที
หากยืนประชุมหรือยืนทำงานเกิน 60 นาที ควรมีการพักเท้า นวดเท้ากับเท้าโต๊ะ การขยับเท้า หรือการเดินไปรอบ ๆ บริเวณ เพื่อการพักเท้าให้เกิดความผ่อนคลาย
คลิปวิดิโอสาธิตการใช้งาน
คู่มือแนวทางการออกแบบสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรกลุ่มวันทำงาน จัดทำขึ้นภายใต้โครงการศึกษาออกแบบและจัดทำโต๊ะประชุมยืนต้นแบบ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของวัยทำงาน
โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)